จุดกำเนิดของชีววิทยาโมเลกุลลล ของ โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก

แผนภาพลักษณะโครงสร้างที่สำคัญของเกลียวคู่ดีเอ็นเอ แต่ภาพนี้ไม่ได้แสดงบี-ดีเอ็นเอ

การประยุกต์ความรู้ทางฟิสิกส์และเคมีเข้ากับปัญหาทางชีววิทยานำไปสู่การพัฒนาความรู้ในด้านชีววิทยาโมเลกุล ชีววิทยาโมเลกุลนี้เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางชีววิทยาที่ระดับยีนและโปรตีน การค้นพบเกลียวคู่กรดนิวคลีอิกทำให้ชัดเจนว่ายีนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโมเลกุลดีเอ็นเอและจะต้องมีหนทางที่เซลล์จะต้องใช้ประโยชน์จากยีนดีเอ็นเอในการสังเคราะห์โปรตีน

ไลนัส พอลิงเป็นนักเคมีผู้ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของโมเลกุล ในปี ค.ศ. 1951 พอลิงได้ตีพิมพ์โครงสร้างของเกลียวอัลฟา ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของโปรตีน เมื่อต้นปี ค.ศ. 1953 เขาได้ตีพิมพ์แบบจำลองเกลียวสามที่ไม่ถูกต้องของดีเอ็นเอ[2] ทั้งคริกและโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตสัน รู้สึกว่าตนกำลังแข่งขันกับพอลิงเพื่อค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอก่อนอีกฝ่ายหนึ่ง

แมกซ์ เดลบรุก เป็นนักฟิสิกส์ผู้ซึ่งตระหนักถึงความเกี่ยวข้องกันบางประการของชีววิทยากับควอนตัมฟิสิกส์ ความคิดของเดลบรุกเกี่ยวกับพื้นฐานเชิงฟิสิกส์ของชีวิตนี้ได้กระตุ้นให้เออร์วิน ชเรอดิงเงอร์เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลอย่างมาก ชื่อว่า อะไรคือชีวิต (What is Life?) ซึ่งหนังสือเล่มนี้เองได้มีอิทธิพลย่างสำคัญต่อฟรานซิส คริก, เจมส์ ดี. วัตสัน และมัวริส วิลคินส์ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์สำหรับการค้นพบเกลียวคู่ดีเอ็นเอ ความพยายามของเดลบรุกในการทำให้ "กลุ่มเฟจ" เป็นที่รู้จัก (การสำรวจพันธุศาสตร์โดยวิธีการของไวรัสที่ทำให้แบคทีเรียติดเชื้อ) นั้นเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาชีววิทยาโมเลุกุลในภาพรวมช่วงแรก ๆ และการพัฒนาความสนใจทางวิทยาศาสตร์ของวัตสันอีกด้วย[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก: โครงสร้างสำหรับกรดดีออกซีไรโบสนิวคลีอิก http://books.google.com/?id=5cRPPgAACAAJ&dq=eighth... http://www.nature.com/nature/dna50/watsoncrick.pdf //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/13054692 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/5796048 //doi.org/10.1038%2F171737a0 //doi.org/10.1126%2Fscience.164.3887.1537 http://www-outreach.phy.cam.ac.uk/camphy/dna/dna_e... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1953Natur.171..7...